top of page
รูปภาพนักเขียนฐิติกร พูลภัทรชีวิน

#โค้ชกันวันละสกิล EP.4 : การสังเกต (Observation)

อัปเดตเมื่อ 29 พ.ย. 2562



ฟังแบบ Podcast ได้ที่นี่


กี่ครั้งแล้วที่เราได้ยินบทสัมภาษณ์คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต แล้วรู้สึกว่า เขาก็แค่เห็นโอกาสก่อนเรา ทั้งที่ในความเป็นจริงโอกาสนั้นก็อยู่ตรงหน้าเราเช่นกัน แต่เราไม่เคยแม้แต่จะพยายามมองให้เห็นโอกาสนั้นด้วยซ้ำ


การสังเกต เป็นหนึ่งในทักษะที่ติดตัวมนุษย์เรามาตั้งแต่เกิด เราสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า แต่เราจะรับรู้รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้นได้มากน้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับเราสังเกตมันหรือไม่

หนึ่งตัวอย่างที่ผมมักเล่าให้ฟังเวลาที่ต้องให้คำปรึกษากับองค์กรต่างๆ คือ ตัวอย่างของที่ปรึกษาระดับโลกท่านหนึ่ง ที่ถูกว่าจ้างให้ไปช่วยแก้ไขปัญหาให้กับโรงงานแห่งหนึ่งด้วยเงินหลักล้านเหรียญ !!!

และเมื่อท่านไปถึงโรงงานแล้วได้เดินชมโรงงานเพียงรอบเดียว ท่านก็ตอบคำเดียวสั้นๆ ว่า "ฝุ่น"


ใช่ครับ คำเดียวสั้นๆ ที่มีมูลค่าหลักล้านเหรียญ แต่ก็ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับโรงงานนั้นได้จริง และสร้างกำไรกลับคืนมาได้อย่างมหาศาล


คำถามที่น่าสนใจตรงนี้ คือ ทำไมต้องจ้างที่ปรึกษาระดับโลก เพื่อมาหาสาเหตุของปัญหาที่ชื่อว่า "ฝุ่น" ทั้งที่ทุกคนในโรงงานต่างก็เห็นมันทุกวันอยู่แล้ว คำตอบของคำถามนี้ก็คือ การสังเกต นี่แหละครับ


  1. หลังจากที่อ่านประโยคนี้จบ ให้คุณหยุดทำทุกอย่างแล้วหันไปมองรอบๆ ตัว ใช้เวลาในการสังเกตว่า มีอะไรอยู่รอบตัวคุณบ้าง มันอยู่ในที่ปกติของมันหรือมีอะไรที่ผิดแผกไป มีใครอยู่รอบตัวคุณบ้าง เขากำลังทำอะไร เขากำลังรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณมั่นใจว่าสังเกตสิ่งต่างๆ ได้ครบถ้วนแล้ว ค่อยกลับมาอ่านข้อต่อไป

  2. เลือกสักหนึ่งอย่างหรือหนึ่งคนที่คุณคิดว่าคุณเห็นรายละเอียดสิ่งนั้นดีพอแล้ว ลองพยายามสังเกตลงไปให้ลึกในรายละเอียดมากขึ้น เช่น ของนั้นมีสีอะไร รูปทรงเป็นแบบไหน มีรอยตำหนิอะไรหรือไม่ เหมือนหรือต่างกับของที่คล้ายๆ กันอย่างไร พยายามใส่ใจทุกรายละเอียด

  3. ลองเปรียบเทียบเมื่อตอนคุณเห็นของสิ่งนั้นในข้อ (1) และเมื่อคุณสังเกตมันอย่างตั้งใจอีกครั้งในข้อ (2) คุณได้รับรายละเอียดที่มากขึ้นใช่หรือไม่

  4. ฝึกฝนทำแบบข้อ (1)-(3) ในที่อื่นๆ สถานการณ์อื่นๆ ฝึกฝนจนเป็นนิสัย คุณจะได้ทักษะการสังเกตติดตัวมาอย่างง่ายดาย

  5. แนะนำเทคนิคง่ายๆ ที่ควรใช้คู่กันกับการสังเกต เพื่อเสริมประสิทธิภาพ คือ การจดบันทึก เพราะยิ่งเราสังเกตเก่งมากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับข้อมูลมากขึ้นเท่านั้น และนั่นย่อมทำให้เรามีโอกาสหลงลืมไปได้ การจดบันทึกจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ให้กับคุณ

ดู 116 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page