top of page
รูปภาพนักเขียนฐิติกร พูลภัทรชีวิน

ต่อให้ "รู้เขา" แต่ไม่ "รู้เรา" ก็ไม่มีทางรอด



ทุกวันนี้ธุรกิจจำนวนมาก ต่างก็พยายามที่จะ “รู้จักลูกค้า” ให้มากยิ่งขึ้น เพราะเชื่อว่านั่นคือหนทางที่จะนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจได้ ซึ่งนั่นก็จริงครับ เพราะหากเราไม่รู้จักลูกค้าให้ดีพอ ก็ยากที่จะออกแบบสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของลูกค้าได้


แต่หลายธุรกิจกลับกำลังลืมเรื่องที่สำคัญไปอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นสาเหตุที่เราได้ยินเรื่องราวของบริษัทจำนวนมากที่แนวคิดดี สินค้าและบริการดี ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่นาน เรากลับได้ยินเรื่องไม่ค่อยดีเกี่ยวกับบริษัทนั้นออกมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับสินค้าล่าช้า การบริการหลังการขายที่ชวนให้ปวดใจ รวมไปถึงการลาออกของทีมงานหลักของบริษัทแยกตัวออกไปเปิดธุรกิจใหม่แข่งกับบริษัทเดิม


เรื่องสำคัญที่ถูกหลงลืมไปก็คือ “รู้เรา” หรือก็คือ “รู้จักพนักงานของเรา” นั่นเองครับ



 

แล้วการไม่รู้จักพนักงานให้ลึกซึ้งมันส่งผลเสียอะไรบ้าง


  1. เราไม่สามารถนำเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวพนักงานออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรได้ บางองค์กรอาจมองว่าเป็นหน้าที่ของพนักงานที่จะต้องแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาสิ แต่ก็อย่าลืมว่า ถ้าหัวหน้าหรือองค์กรไม่เปิดโอกาสให้เขา เขาก็ไม่สามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้นะครับ

  2. พนักงานรู้สึกว่าตัวเองไม่มี “คุณค่า” เมื่ออยู่ในองค์กรนี้ เพราะสิ่งที่เขาเป็น ไม่ใช่สิ่งที่องค์กรต้องการ และสิ่งที่องค์กรต้องการ ก็ไม่ใช่สิ่งที่เขาเป็น

  3. เมื่อพนักงานรู้สึกว่าตัวเองไม่มี “คุณค่า” แต่กลับต้องอยู่ในบริษัทต่อไปเพราะยังต้องการเงินเดือนมาเลี้ยงดูครอบครัว พนักงานก็จะค่อยๆ หมดไฟ ทำงานแบบเช้าชามเย็นชามไปวันๆ พอหัวหน้ามาเห็นลูกน้องเป็นแบบนี้ ก็ตำหนิต่อว่า (จากเบาไปหาหนัก) โดยหวังว่าจะกระตุ้นให้พนักงานลุกขึ้นมาทำงานอย่างกระตือรือร้นเหมือนเดิมได้ แต่นั่นกลับยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกถูก “ด้อยค่า” ลงไปอีก สุดท้ายก็เกิดเป็นภาวะหมดไฟ (Burn Out) ในที่สุด


ทราบหรือไม่ครับว่า จากการสำรวจล่าสุด พบว่ามีพนักงานกว่า 61% ที่กำลังรู้สึกหมดไฟ และกำลังวางแผนที่จะลาออกจากองค์กรอยู่ นั่นหมายความว่าถ้าลาออกกันไป 61% จริงๆ องค์กรคงอยู่ยากแน่นอนครับ

หัวใจสำคัญของการป้องกันปัญหาพนักงานหมดไฟและการลาออกครั้งใหญ่ (The Great Resignation) ก็คือ การ “รู้จักพนักงาน” นั่นเอง



 

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนก็อาจคิดว่า แต่ฉันก็ทำงานกับลูกน้องแต่ละคนมาตั้งนานแล้วนะ ฉันมั่นใจว่าฉันรู้จักลูกน้องของฉันดี


จริงหรือ !? เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะรู้จักคนๆ หนึ่งอย่างลึกซึ้งเพียงเพราะทำงานร่วมกันมานาน


การจะตอบคำถามนี้ก็อาจจะต้องย้อนทวนด้วยคำถามว่า แล้วเรารู้จักตัวเราเองมากขนาดไหน เรารู้มั้ยว่าตัวเองชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เรามีสไตล์การทำงานแบบไหน มีคำพูดติดปากว่าอะไร เรารู้ดีว่าอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงในการเกิดมาของเรา แล้วเราก็เข้าใจเหตุผลในทุกการกระทำของเราด้วย ไม่มีนิสัยหรือพฤติกรรมอะไรเลยที่เราทำออกไปโดยที่เราเองก็ไม่รู้ว่า ทำไมตัวเองถึงคิดแบบนั้นหรือทำแบบนั้น


ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะเริ่มรู้สึกแล้วว่า จริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้รู้จักตัวเองดีไปซะทุกเรื่อง และนั่นก็เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ธรรมดาอย่างพวกเราทุกคน และนั่นก็หมายความว่าเราก็ไม่สามารถรู้จักลูกน้องของเราไปซะทุกเรื่องเช่นกัน


Johari's Window


ทฤษฎี Johari’s Window ได้ให้ความเข้าใจกับเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยการแบ่งพื้นที่ในชีวิตของเราแต่ละคนออกเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่



Johari's Window


พื้นที่แรก คือ พื้นที่เปิดเผย ซึ่งเป็นส่วนที่ตัวเราเองรู้ว่าเราเป็นแบบไหน และคนอื่นรอบๆ ตัวเราก็รับรู้แบบเดียวกันกับที่เรารู้


พื้นที่ที่สอง คือ พื้นที่ที่ปิดซ่อนไว้ แน่นอนว่าเราทุกคนมีส่วนนี้อยู่ในตัว ส่วนที่เป็นความลับที่ตัวเราเองรู้ แต่เราไม่อยากให้คนอื่นรู้ ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา เช่น กลัวอับอายหรือกลัวว่าจะไม่ได้รับการยอมรับ ถ้าคนอื่นรู้นิสัยส่วนตัวบางอย่างของเรา เราจึงต้องพยายามเก็บซ่อนมันเอาไว้


พื้นที่ถัดไป คือ มุมอับ ส่วนนี้เป็นส่วนที่คนอื่นมองเห็นเรา แต่เรามองไม่เห็นตัวเอง บ่อยครั้งเลยที่เวลามีคนมาพูดว่า เราเป็นคนแบบนั้นแบบนี้ แต่เรากลับรู้สึกไม่เชื่อในสิ่งที่เขาพูดจึงพยายามปฏิเสธไป แล้วก็มีคนที่สอง คนที่สาม คนที่สี่ ทยอยมาพูดแบบเดียวกันกับที่คนแรกพูด นั่นอาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า เรามีนิสัยหรือพฤติกรรมแบบนั้นจริงๆ เพียงแต่เราไม่รู้ตัว


พื้นที่สุดท้าย คือ พื้นที่ที่ไม่มีใครรู้จัก ส่วนนี้เป็นส่วนที่ตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าเราเป็นคนแบบนี้ คนอื่นรอบตัวเราก็ไม่รู้ว่าเราเป็นเช่นกัน เพราะมันเป็นนิสัยหรือบุคลิกภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน เป็นตัวจริงของเราที่แอบซ่อนอยู่ในมุมหลืบ และมักจะแสดงตัวออกมาเมื่อเราต้องเผชิญกับสถานการณ์บางอย่างที่รุนแรงจนทำให้เราสูญเสียสติสัมปชัญญะในการควบคุมตัวเอง เช่น เมื่อต้องสูญเสียคนที่เรารักไปอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว หรือต้องยืนอยู่ต่อหน้าบ้านของตัวเองที่กำลังโดนไฟเผาไหม้อยู่


จากทฤษฎีของ Johari’s Window อาจบอกได้ว่า เรารู้จักลูกน้องของเราได้มากที่สุดแค่ 2 ส่วนเท่านั้นเอง คือ พื้นที่เปิดเผย และมุมอับ

แล้วต้องทำอย่างไร เราถึงจะ “รู้จักพนักงาน” ของเราได้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ที่ไม่มีใครรู้จัก ซึ่งมักจะปรากฎตัวออกมาในเวลาคับขัน ในเวลาที่พนักงานต้องเผชิญกับแรงกดดันมากๆ เช่น โดนลูกค้าด่าทออย่างรุนแรง หรือเจอลูกน้องรวมหัวกันประท้วง


คำตอบก็คือ การใช้แบบทดสอบเชิงพฤติกรรมซึ่งมีอยู่หลายตัวในตลาด ไม่ว่าจะเป็น #DISC #MBTI #StrengthFinder #Enneagram และอื่นๆ ซึ่งแบบทดสอบแต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมๆ แล้วแบบทดสอบเหล่านี้จะช่วยสะท้อนให้เราเห็นตัวตนบางแง่มุมของพนักงาน ซึ่งแม้แต่ตัวพนักงานก็อาจไม่เคยรู้ตัวมาก่อนเลยว่าเขาเป็นคนแบบนั้น



 

Working Tribes Assessment


สำหรับวันนี้ผมจะมาแนะนำให้รู้จักกับแบบทดสอบเชิงพฤติกรรมอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Working Tribes


Working Tribes เป็นแบบทดสอบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากภูมิปัญญาโบราณกว่า 4,000 ปีของอิสราเอล ที่รวบรวมเอาวิธีการนำทัพเข้าสู่สงครามเพื่อนำชัยชนะมาสู่ชนชาติ จนทำให้อิสราเอลกลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลกมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นทำให้ Working Tribes มุ่งความสำคัญไปที่การจัดโครงสร้างของทีมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของธุรกิจ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นก่อตั้งธุรกิจ ช่วงที่ธุรกิจเติบโตเป็นองค์กรที่มีรากฐานมั่นคง ตลอดจนช่วงเวลาที่ธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ การสรรหาสมาชิกมาร่วมทีม การกำหนดบทบาทหน้าที่ให้แต่ละคนในทีม และการทำงานร่วมกันเป็นทีมบนความเข้าใจกันและยอมรับในจุดแข็งจุดอ่อนของกันและกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า Working Tribes เป็นแบบทดสอบที่จะช่วยให้เกิด Teamwork ที่ดีที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีแบบทดสอบไหนพูดถึงมาก่อน


นอกจากนี้จากรากฐานความเชื่อว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์แต่ละคนมาอย่างเฉพาะเจาะจงและมีวัตถุประสงค์ จึงทำให้ Working Tribes โดดเด่นในเรื่องของการทำความรู้จักกับแต่ละคนแบบเป็นปัจเจกบุคคล ไม่ใช่แค่การแบ่งคนเป็นกลุ่มๆ 4, 9, 16 กลุ่มเท่านั้น แต่สามารถแบ่งคนได้เป็นกว่า 500 ล้านแบบ เรียกว่าแทบจะไม่มีใครที่มีผลลัพธ์จากการทำแบบทดสอบออกมาเหมือนกันเป๊ะเลย หรืออาจกล่าวได้ว่า Working Tribes เป็นแบบทดสอบที่จะทำให้คุณรู้จักตัวตนของพนักงานเชิงลึกที่สุดเท่าที่มีอยู่ในตลาดในเวลานี้


ติดต่อ โทร 080-614-6514

LINE @workingtribes (มีแอดด้านหน้าด้วยนะครับ)

Email : info.workingtribe@gmail.com


ดู 158 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page